บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ตัวอย่าง-การแก้ไข[01]

เชิงอรรถมีอยู่ 3 ประเภทคือ
1) เชิงอรรถอ้างอิง
2) เชิงอรรถอธิบาย
3) เชิงอรรถโยงความ

ในบทความนี้ ผมจะนำตัวอย่างการเขียนเชิงอรรถประเภทต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องของนักศึกษามาอธิบายและแก้ไขการเขียนเชิงอรรถดังกล่าว

ในการแก้ไขเชิงอรรถนั้น  ส่วนมากต้องแก้ไขสำนวนภาษาของเนื้อไปด้วยกัน

ตัวอย่างที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นบทความเรื่อง “SSD (Solid State Drive)” ของนักศึกษากลุ่มไฟร์วอลล์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์


  
คำวิจารณ์
นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการจะเขียน “ความหมาย” ของ SSD (Solid-State Drive) แต่เนื้อหาที่นักศึกษาเขียนมานั้น จะเห็นว่า ไม่ใช่ความหมายของ SSD

สำหรับการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงในแถบระบายสีเหลืองนั้น  นักศึกษาใช้วิธีการเขียนข้อความไปก่อน แล้วเขียนเชิงอรรถอ้างอิงไว้ด้านหลังเนื้อหาทั้งหมด 

การเขียนแบบนี้ ไม่ดีนัก  เชิงอรรถอ้างอิงนั้น  ควรอยู่หน้าบ้าง หรือหลังบ้างแล้วแต่ความเหมาะสม

การแก้ไขเนื้อหาส่วนนี้  ต้องรอให้นักศึกษาส่งงานครั้งต่อไปก่อน จึงจะสามารถแก้ไขการเขียนที่ยกมาเป็นตัวอย่างดังกล่าวได้...



3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 กันยายน 2554 เวลา 02:05

    อ้างอิง
    ชื่อ-นามสกุลผู้แต่งอยู่ในวงเล็บหรือนอกวงเล็บครับ เช่น
    (นรากร คนใจบุญ, 2554: ออนไลน์)
    หรือ
    นรากร คนใจบุญ(2554: ออนไลน์)

    ตอบลบ
  2. มันขึ้นอยู่กับข้อความที่เรานำมาอ้างด้วย สมมุติว่าข้อความคือ

    กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

    ถ้าเรานำชื่อของเจ้าของเนื้อหาที่เรานำมาเป็นส่วนหนึ่งของบทความของเราขึ้นก่อน ก็อาจจะเขียนว่า นรากร คนใจบุญ (2554 : ออนไลน์) กล่าวว่า กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

    ในบางครั้ง ในการเขียนบทความเพื่อความสละสลวยของเนื้อหาบทความของเรา ข้อความที่เรานำมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหานั้น เราอาจจะเอาชื่อคนเขียนไว้หลังข้อความ ดังนี้ก็ต้องเขียนแบบนี้
    .......................... กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก (นรากร คนใจบุญ, 2554 : ออนไลน์)

    ตอบลบ