บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อ่านตรงนี้ก่อน

ในการเขียนงานวิชาการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย รายงาน 5 บท หนังสือวิชาการ หรือบทความวิชาการ เป็นต้น

เราไม่สามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่เป็นของเราคนเดียว นำมาเขียนเป็นงานวิชาการดังที่กล่าวมาแล้วได้ 

เราต้องนำองค์ความรู้ของบุคคลอื่นๆ มาเขียนด้วย ซึ่งองค์ความรู้ของบุคคลอื่นๆ นั้น จะมีมากกว่าของเรา

เมื่อเปรียบเทียบกับการเขียนบันทึกส่วนตัว บันทึกการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เราไม่ต้องอ้างอิงองค์ความรู้ของใคร  เพราะ เราเขียนด้วยความรู้ของเราล้วนๆ

เมื่อนำ “ความรู้” ของคนอื่นมาเขียนใส่ในงานวิชาการหรือบทความของเรา เราจึงต้องบอกด้วยว่า “ความรู้” นั้น  เรานำมาจากไหน

ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
1) ถ้าผู้อ่านต้องการจะอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียด ผู้อ่านจะได้ค้นคว้าได้สะดวก
2) ผิดกฎหมาย
3) ไม่ได้คะแนน

“สิ่ง” ที่เราเขียนลงไปตรงนี้คือ เชิงอรรถอ้างอิง

ในบางครั้ง เราต้องการอธิบาย “คำ” บางคำ หรือ “ประโยค” บางประโยค แต่ข้อความในส่วนนี้ ไม่ใช่เนื้อหาของบทความ แต่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม

เราจึงต้องนำไปเขียนที่ในส่วนท้ายของหน้ากระดาษ  โดยจะขีดเส้นยาว 2 นิ้วกั้นระหว่างเนื้อหาของบทความกับคำอธิบายนี้

“สิ่ง” ที่เราเขียนลงไปตรงนี้คือ เชิงอรรถอธิบาย

ในบางครั้ง เราต้องการอธิบายเนื้อหาของเราเพิ่มเติม  แต่ไม่สามารถเขียนลงไปในบทความได้ เพราะ สิ่งที่เราต้องการอธิบายนั้น มีเนื้อมาก 

เราจึงต้องนำไปเขียนที่ในส่วนท้ายของหน้ากระดาษ  โดยจะขีดเส้นยาว 2 นิ้วกั้นระหว่างเนื้อหาของบทความกับคำอธิบายนี้

“สิ่ง” ที่เราเขียนลงไปตรงนี้คือ เชิงอรรถโยงความ

การที่จะเขียนเชิงอรรถอ้างอิง  เชิงอรรถโยงความ และเชิงอรรถขยายความลงไปในบทความวิชาการของเรานั้น  เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจ  จึงรบกวนการเขียนบทความของเรา

การเขียนเชิงอรรถโยงความ รวมถึงการเขียนเนื้อหาในส่วนนั้นๆ  ผมชอบที่จะเรียกว่า การเขียนอ้างอิง

บทความในชุดนี้จะอธิบายการเขียนประเด็นต่างๆ เหล่านั้นทั้งหมด เมื่อท่านผู้อ่าน อ่านบทความชุดนี้จบแล้ว  คงจะสามารถนำองค์ความรู้ไปเขียนบทความของท่านได้...



1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นขั้นตอนที่น่ารำคาญที่สุดในการทำวิจัยเลยก็ว่าได้ครับ

    ตอบลบ