เชิงอรรถมีอยู่ 3 ประเภทคือ
1) เชิงอรรถอ้างอิง
2) เชิงอรรถอธิบาย
3) เชิงอรรถโยงความ
ในบทความนี้ ผมจะนำตัวอย่างการเขียนเชิงอรรถประเภทต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องของนักศึกษามาอธิบายและแก้ไขการเขียนเชิงอรรถดังกล่าว
ในการแก้ไขเชิงอรรถนั้น ส่วนมากต้องแก้ไขสำนวนภาษาของเนื้อไปด้วยกัน
ตัวอย่างที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นบทความเรื่อง “E-book หนังสือแห่งยุคดิจิตอล” ของนักศึกษากลุ่ม ทุ่งหญ้า
คำวิจารณ์
ในแถบระบายสีเหลืองด้านบนคือ คำที่นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการอธิบายเพิ่มเติม แต่ถ้าอธิบายลงไปในบทความแล้ว อาจจะทำให้เนื้อหานั้น ขาดความเป็นเอกภาพ จึงมีควรเขียนลงไปในย่อหน้า แต่มาทำเชิงอรรถอธิบายไว้ด้านล่าง ในแถบระบายสีเขียว
คำว่า “ขาดความเป็นเอกภาพ” มีหลักการที่จะต้องอธิบายดังนี้
ในการเขียนบทความนั้น ผู้เขียนต้องวางแผนล่วงหน้าว่า จะเขียนเป็น “เรื่องย่อยๆ หลายเรื่อง” เรื่องย่อยเหล่านั้น เมื่อรวมกันแล้วก็คือ บทความของนักศึกษา
ในแต่ละเรื่องย่อยๆ นั้น ก็จะประกอบไปด้วย “หัวเรื่อง” หลายหัวเรื่อง แต่ละหัวเรื่องนั้น เรานิยมเขียน 1 ย่อหน้าต่อ 1 หัวเรื่อง
ดังนั้น ในหนึ่งย่อหน้า เราจะเขียนเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เมื่อมีคำจะต้องอธิบายขยายความเราจึงนิยมไปทำเชิงอรรถอธิบายอยู่ที่ด้านล่าง
ปัญหาของนักศึกษากลุ่มนี้ก็คือ คำอธิบายของเชิงอรรถอธิบาย คนอ่านก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี
ดังนั้น เชิงอรรถอธิบายโดยหลักการแล้ว ควรเป็นคำอธิบายของเราจริงๆ เมื่อผู้อ่านแล้วก็ต้องเข้าใจจริง
OCR เป็นวิธีการที่จะแปลงตัวอักษรในเอกสาร เช่น หนังสือ ไฟล์ pdf เป็นต้น ให้เป็นตัวอักษรอีกครั้งหนึ่งในโปรแกรมการพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อดัดแปลงแก้ไขให้เป็นไปตามที่ผู้เขียนต้องการ ถ้าไม่ใช้วิธีการของ OCR ผู้เขียนก็ต้องพิมพ์ข้อความทั้งหมดนั้น ขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำให้เวลาในการทำงานมาก...